Asean Guitar | ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์
รีวิว
การบรรเลงและ transcribe ทำได้อย่างไม่มีที่ติ ฝีมือคุณฮัคกี้เหมือนไวน์ชั้นดีระดับกรองครูส์ที่บ่มได้ที่ใน vintage year ส่วนเรื่องเสียงนั้น ผมชอบเสียงของกีตาร์อัลบั้มนี้มากที่สุด...เสียง full body, bold, sweet เหมือนไวน์ชั้นดีจริงๆ ผมว่าการบันทึกเสียงทำได้ดีกว่าแผ่นเสียงของค่ายดอกผักบุ้ง Sheffield Lab ที่เป็นงานเดี่ยวกีตาร์ของ Michael Newman เสียอีก
นิตยสารออดิโอไฟล์ ธันวาคม 2558
นิตยสารออดิโอไฟล์ ธันวาคม 2558
ผมเรียกลักษณะเพลงในอัลบั้ม "อาเซียนกีตาร์" ว่า เวิลด์ มิวสิค ที่บรรเลงโดยกีตาร์คลาสสิค ในแต่ละเพลงฮัคกี้จะตีความหมายออกมาให้ยังคงไว้ซึ่งจิตวิญญาณของผู้ประพันธ์ดั้งเดิมมากที่สุด ทางด้านคุณภาพเสียงไร้ที่ติ มีความเหมือนจริงมากที่สุด เก็บรายละเอียดมาได้ครบถ้วนทุกจังหวะลีลา ทราบมาว่าเชน เอ็ดเวิร์ด ใช้เวลาในการเซ็ทไมโครโฟนหนึ่งวันเต็มๆ แถมใช้ไมโครโฟนทั้งหมด 6 ตัวในการบันทึกเสียงกีตาร์ตัวเดียว!!!
จัดเต็มซะขนาดนี้เสียงดังออกมาดีหายห่วง ไม่ว่าจะเป็นฟอร์แมต CD แผ่นเสียงปกติและโดยเฉพาะแผ่น Test Pressing ที่เสียงดีขึ้นไปอีก 20% ตัดแผ่นที่ Palias เยอรมนี ควบคุมเสียงโดยวิศวกรจาก TACET ก่อนจะส่งมาขายที่ประเทศไทยในราคา1,700 บาท
ดร.ชุมพล มุสิกานนท์ - นิตยสารจีเอ็ม สิงหาคม 2558
มนตราอุษาทวีป: จาก จอร์จ แฮริสัน ถึง ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์
ฮัคกี้ รู้จักเครื่องดนตรีและเพลงพื้นถิ่นอุษาคเนย์อย่างลุ่มลึก ขนาดประยุกต์เพลง “Jingle Bell” มาสอดประสานอยู่ในลายเพลง “เต้ยโขง” จนกลายเป็นเพลง “เทคโนเต้ย” ได้อย่างไม่เคอะเขิน จนเป็นที่มาของผลงานเพลงอัลบั้มล่าสุด คือ Asean Guitar – Fusion of South East Asian Music ที่เป็นที่ยอมรับในแวดวงดนตรีว่า คือที่สุดของการผสานท่วงทำนองตะวันตกเข้ากับตะวันออกได้อย่างยอดเยี่ยมลงตัว แลยืนยันตัวตนของผู้ต้องมนตราอุษาคเนย์ นาม “ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์” คนนี้ได้อย่างดีที่สุด
(โดยธีรภาพ โลหิตกุล, เสาร์สวัสดี กรุงเทพธุรกิจ 6 มิถุนายน 2558)
ทูตดนตรีระหว่างตะวันออกและตะวันตก - เจ้าพ่อกีตาร์ในประเทศไทย
ฮัคกี้เป็นศิลปินผู้เชื่อมโยงพรมแดนวัฒนธรรมดนตรีระหว่างตะวันออกและตะวันตกเข้าด้วยกัน เขาเป็นนักกีตาร์ต้นแบบที่เล่นดนตรีสร้างสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนใคร
หลังจากที่ได้พูดคุยและได้ฟังการเล่นดนตรีของเขาทำให้เราได้รู้ว่าเขาเป็นนักกีตาร์ที่มีเทคนิดและสไตล์ในการเล่น ดนตรีที่แตกต่างและไม่เหมือนใคร เช่นการผสมผสานเครื่องดนตรีไทยที่มานำเสนอในดนตรีคลาสสิคซึ่งสามารถ เข้ากันและสื่อสารออกมาได้อย่างลงตัว
(ใบตอง รัชตวรรณ - ไทยรัฐ ทีวี - สัมภาษณ์ - 17 พฤษภาคม 2558)
...ท่วงทำนองไพเราะ ฟังจับใจ ไร้กาลเวลา
(ดำรัส โรจนพิเชฐ - ไทยโพสต์ - 12 กรกาคม 2558)
เปิดประสบการณ์ดนตรีอาเซียนไปกับฮัคกี้ ไอเคิลมานน์
“การเล่นกีตาร์ของฮัคกี้ตลอดทั้งอัลบั้มนี้ เป็นไปตามความคาดหมาย นั่นคือ ชั้นยอดเยี่ยม ในบางเพลง เช่น เทคโนเต้ย เขาสามารถเล่นกีตาร์ที่สร้างสำเนียงดนตรีที่คุณคาดไม่ถึง ความสามารถทางดนตรีของเขามีเสน่ห์ ชวนให้หลงไหล”
“อีกสี่งหนึ่งที่ผมชอบในอัลบั้มนี้คือคุณภาพของการบันทึกเสียงซึ่งดีเลิศ”
(จอห์น คลูอีย์ - บางกอกโพสต์ - 21 เมษายน 2558)
บทเพลงอาเซียน ผ่านลีลากีตาร์ขั้นเทพจาก “ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์”
ฮัคกี้ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งใน“ฝรั่งหัวใจไทย”
อาเซียนกีตาร์เป็นผลงานคุณภาพยอดเยี่ยมชวนฟัง เสียงกีตาร์มีความสด มีชีวิตชีวา น่าฟัง มีความหลากหลายใน อารมณ์เพลง ฟังเพลินไม่น่าเบื่อ…ไม่ใช่ว่าใครจะทำกันได้ง่ายๆ เพราะมันต้องใช้ไอเดียในการเรียบเรียงและที่สำคัญ คือฝีมือในการเล่นกีตาร์ต้องอยู่ในขั้นเซียน
เพลงเทคโนเต้ย ฮัคกี้เล่นด้วยเทคนิคหลากหลาย ส่วนที่ผมติดใจเป็นพิเศษก็คือลูกเล่นผสมข้ามซีกโลก เล่นท่วงรำเต้ย ก่อนสลับกับท่วงทำนองจิงเกิลเบลส์ เป็น “เต้ยจิงเกิลเบลส์” ที่มันและมีสีสันมาก
คุณภาพการบันทึกเสียงอันยอดเยี่ยมทำให้เสียงกีตาร์ออกมาอย่างใสเคลียร์
เอเอ็มไอ เร็คคอร์ด คือค่ายเพลง “ทางเลือก” ที่นำเสนอบทเพลง “ทางเลือก” มาให้เราได้มี “ทางเลือก” ในการเสพดนตรีคุณภาพที่มีความแตกต่างจากบทเพลงที่มีอยู่ดาษดื่นในบ้านเรา
(บอน บอระเพ็ด - ผู้จัดการออน์ไลน์ - 19 พฤษภาคม 2558)
ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์ มือกีตาร์คลาสสิคจากเยอรมนีผู้มีชื่อเสียงจากงานเพลงที่ผสมผสานระหว่างความเป็นตะวันตกกับตะวันออก ทำงานใหม่ออกมารับปีเข้าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเต็มตัวในช่วงปลายปี 2558 นี้ ผลงานของฮัคกี้ ใช้ชื่อ "อาเซียน กีตาร์" นำบทเพลงอมตะจากท้องถิ่นใน 10 ประเทศมาเรียบเรียงใหม่และบรรเลงในสไตล์เดี่ยวกีตาร์คลาสสิคตามความถนัดเฉพาะตัว
(มติชนออน์ไลน์ - 17 มิถุนายน 2558)
“อาเซียนกีตาร์ - เสียงผสานดนตรีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” นำเสนอบทเพลงที่คัดสรรมาจากสิบประเทศอาเซียน - ไทย ฟิลิปปินส์ พม่า กัมพูชา เวียดนาม ลาว มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และบรูไน ที่สะท้อนความเชื่อมโยงของวัฒนธรรมดนตรีในภูมิภาคผ่านการนำเสนอในรูปแบบดนตรีร่วมสมัย
(ข่าวสด-09 มิถุนายน 2558)
“อาเซียนกีตาร์ 16 เพลงจาก 10 ประเทศอาเซียน สำหรับประเทศไทยฮัคกี้เลือกเพลง “เดือนเพ็ญ” เป็นตัวแทน และ “เทคโนเต้ย” ซึ่งเขาแต่งขึ้นใหม่ด้วยการผสมผสานดนตรีอีสานสอดแทรกเพลง จิงเกิลเบลล์ เป็นลูกเล่นเล็กๆ ได้อย่างน่าฟัง อารมณ์โดยรวมฟังเพลินเสียงกีตาร์พลิ้วไหวที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวาให้ความรู้สึกถึงความแข็งแรงและความอ่อนโยนไปพร้อมกัน”
(นิตยสารอิมเมจ - มิถุนายน-กรกฎาคม 2558)
จัดเต็มซะขนาดนี้เสียงดังออกมาดีหายห่วง ไม่ว่าจะเป็นฟอร์แมต CD แผ่นเสียงปกติและโดยเฉพาะแผ่น Test Pressing ที่เสียงดีขึ้นไปอีก 20% ตัดแผ่นที่ Palias เยอรมนี ควบคุมเสียงโดยวิศวกรจาก TACET ก่อนจะส่งมาขายที่ประเทศไทยในราคา1,700 บาท
ดร.ชุมพล มุสิกานนท์ - นิตยสารจีเอ็ม สิงหาคม 2558
มนตราอุษาทวีป: จาก จอร์จ แฮริสัน ถึง ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์
ฮัคกี้ รู้จักเครื่องดนตรีและเพลงพื้นถิ่นอุษาคเนย์อย่างลุ่มลึก ขนาดประยุกต์เพลง “Jingle Bell” มาสอดประสานอยู่ในลายเพลง “เต้ยโขง” จนกลายเป็นเพลง “เทคโนเต้ย” ได้อย่างไม่เคอะเขิน จนเป็นที่มาของผลงานเพลงอัลบั้มล่าสุด คือ Asean Guitar – Fusion of South East Asian Music ที่เป็นที่ยอมรับในแวดวงดนตรีว่า คือที่สุดของการผสานท่วงทำนองตะวันตกเข้ากับตะวันออกได้อย่างยอดเยี่ยมลงตัว แลยืนยันตัวตนของผู้ต้องมนตราอุษาคเนย์ นาม “ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์” คนนี้ได้อย่างดีที่สุด
(โดยธีรภาพ โลหิตกุล, เสาร์สวัสดี กรุงเทพธุรกิจ 6 มิถุนายน 2558)
ทูตดนตรีระหว่างตะวันออกและตะวันตก - เจ้าพ่อกีตาร์ในประเทศไทย
ฮัคกี้เป็นศิลปินผู้เชื่อมโยงพรมแดนวัฒนธรรมดนตรีระหว่างตะวันออกและตะวันตกเข้าด้วยกัน เขาเป็นนักกีตาร์ต้นแบบที่เล่นดนตรีสร้างสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนใคร
หลังจากที่ได้พูดคุยและได้ฟังการเล่นดนตรีของเขาทำให้เราได้รู้ว่าเขาเป็นนักกีตาร์ที่มีเทคนิดและสไตล์ในการเล่น ดนตรีที่แตกต่างและไม่เหมือนใคร เช่นการผสมผสานเครื่องดนตรีไทยที่มานำเสนอในดนตรีคลาสสิคซึ่งสามารถ เข้ากันและสื่อสารออกมาได้อย่างลงตัว
(ใบตอง รัชตวรรณ - ไทยรัฐ ทีวี - สัมภาษณ์ - 17 พฤษภาคม 2558)
...ท่วงทำนองไพเราะ ฟังจับใจ ไร้กาลเวลา
(ดำรัส โรจนพิเชฐ - ไทยโพสต์ - 12 กรกาคม 2558)
เปิดประสบการณ์ดนตรีอาเซียนไปกับฮัคกี้ ไอเคิลมานน์
“การเล่นกีตาร์ของฮัคกี้ตลอดทั้งอัลบั้มนี้ เป็นไปตามความคาดหมาย นั่นคือ ชั้นยอดเยี่ยม ในบางเพลง เช่น เทคโนเต้ย เขาสามารถเล่นกีตาร์ที่สร้างสำเนียงดนตรีที่คุณคาดไม่ถึง ความสามารถทางดนตรีของเขามีเสน่ห์ ชวนให้หลงไหล”
“อีกสี่งหนึ่งที่ผมชอบในอัลบั้มนี้คือคุณภาพของการบันทึกเสียงซึ่งดีเลิศ”
(จอห์น คลูอีย์ - บางกอกโพสต์ - 21 เมษายน 2558)
บทเพลงอาเซียน ผ่านลีลากีตาร์ขั้นเทพจาก “ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์”
ฮัคกี้ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งใน“ฝรั่งหัวใจไทย”
อาเซียนกีตาร์เป็นผลงานคุณภาพยอดเยี่ยมชวนฟัง เสียงกีตาร์มีความสด มีชีวิตชีวา น่าฟัง มีความหลากหลายใน อารมณ์เพลง ฟังเพลินไม่น่าเบื่อ…ไม่ใช่ว่าใครจะทำกันได้ง่ายๆ เพราะมันต้องใช้ไอเดียในการเรียบเรียงและที่สำคัญ คือฝีมือในการเล่นกีตาร์ต้องอยู่ในขั้นเซียน
เพลงเทคโนเต้ย ฮัคกี้เล่นด้วยเทคนิคหลากหลาย ส่วนที่ผมติดใจเป็นพิเศษก็คือลูกเล่นผสมข้ามซีกโลก เล่นท่วงรำเต้ย ก่อนสลับกับท่วงทำนองจิงเกิลเบลส์ เป็น “เต้ยจิงเกิลเบลส์” ที่มันและมีสีสันมาก
คุณภาพการบันทึกเสียงอันยอดเยี่ยมทำให้เสียงกีตาร์ออกมาอย่างใสเคลียร์
เอเอ็มไอ เร็คคอร์ด คือค่ายเพลง “ทางเลือก” ที่นำเสนอบทเพลง “ทางเลือก” มาให้เราได้มี “ทางเลือก” ในการเสพดนตรีคุณภาพที่มีความแตกต่างจากบทเพลงที่มีอยู่ดาษดื่นในบ้านเรา
(บอน บอระเพ็ด - ผู้จัดการออน์ไลน์ - 19 พฤษภาคม 2558)
ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์ มือกีตาร์คลาสสิคจากเยอรมนีผู้มีชื่อเสียงจากงานเพลงที่ผสมผสานระหว่างความเป็นตะวันตกกับตะวันออก ทำงานใหม่ออกมารับปีเข้าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเต็มตัวในช่วงปลายปี 2558 นี้ ผลงานของฮัคกี้ ใช้ชื่อ "อาเซียน กีตาร์" นำบทเพลงอมตะจากท้องถิ่นใน 10 ประเทศมาเรียบเรียงใหม่และบรรเลงในสไตล์เดี่ยวกีตาร์คลาสสิคตามความถนัดเฉพาะตัว
(มติชนออน์ไลน์ - 17 มิถุนายน 2558)
“อาเซียนกีตาร์ - เสียงผสานดนตรีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” นำเสนอบทเพลงที่คัดสรรมาจากสิบประเทศอาเซียน - ไทย ฟิลิปปินส์ พม่า กัมพูชา เวียดนาม ลาว มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และบรูไน ที่สะท้อนความเชื่อมโยงของวัฒนธรรมดนตรีในภูมิภาคผ่านการนำเสนอในรูปแบบดนตรีร่วมสมัย
(ข่าวสด-09 มิถุนายน 2558)
“อาเซียนกีตาร์ 16 เพลงจาก 10 ประเทศอาเซียน สำหรับประเทศไทยฮัคกี้เลือกเพลง “เดือนเพ็ญ” เป็นตัวแทน และ “เทคโนเต้ย” ซึ่งเขาแต่งขึ้นใหม่ด้วยการผสมผสานดนตรีอีสานสอดแทรกเพลง จิงเกิลเบลล์ เป็นลูกเล่นเล็กๆ ได้อย่างน่าฟัง อารมณ์โดยรวมฟังเพลินเสียงกีตาร์พลิ้วไหวที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวาให้ความรู้สึกถึงความแข็งแรงและความอ่อนโยนไปพร้อมกัน”
(นิตยสารอิมเมจ - มิถุนายน-กรกฎาคม 2558)